วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

รถไฟฟ้าในอาเซียน

เรามาดูระบบรถไฟฟ้าของประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน ว่าแต่ละประเทศพัฒนาไปถึงไหนกันบ้าง
ไทย

BTS


รถไฟฟ้า บีทีเอส (BTS Skytrain) เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ภายใต้สัมปทานของกรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542   เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในโอกาสที่เปิดบริการมาครบ 9 ปี ปรากฏว่า มียอดมีผู้ใช้บริการตั้งแต่เปิดให้บริการ 972,034,298 เที่ยว มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันทำการ 424,369 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.6% โดยในปี 2551 นี้มีผู้ใช้บริการสูงสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จำนวน 497,390 เที่ยว  และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยในวันทำการสร้างสถิติใหม่สูงสุดเท่ากับ 509,106 เที่ยว/คน 
                        10 อันดับสถานีที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด(หน่วย:เที่ยวคน/วัน) 
                           1. สยาม112,600
                           2. อโศก85,100
                           3. หมอชิต79,500
                           4. อนุสาวรีย์ชัยฯ79,000
                           5. ศาลาแดง52,900
                           6. อ่อนนุช52,600
                           7. ชิดลม47,300
                           8. พญาไท42,800
                           9 .แบริ่ง 41,400
                          10. พร้อมพงษ์39,600
MRT

รถไฟฟ้ามหานคร ( Metropolitan Rapid Transit, MRT) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

รถไฟฟ้ามหานคร มีเส้นทางการเดินรถรวมระยะทาง 20 กิโลเมตรเป็นโครงการใต้ดินตลอดสาย มีสถานีทั้งหมด 18 สถานี เริ่มต้นจากบริเวณหน้าสถานี รถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปทางทิศตะวันออกตามแนว ถนนพระราม ที่ 4 ผ่านสามย่าน สวนลุมพินี จนกระทั่งตัดกับ ถนนรัชดาภิเษก เลี้ยวซ้าย ไปทางทิศเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษก ผ่านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แยกอโศก แยกพระรามที่ 9 แยกห้วยขวาง แยกรัชดา ลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตาม ถนนลาดพร้าว จนถึงปากทางห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพหลโยธิน ผ่านหน้าสวนจตุจักร ตรงไปสิ้นสุดที่บริเวณ สถานีรถไฟบางซื่อ สถานีเป็นสถานีใต้ดินทั้งหมด 18 สถานี ระยะห่างระหว่างสถานี โดยเฉลี่ย 1 กม.
เวลาให้บริการ
•   ทุกวันไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น.
•   ความถี่


 - ชั่วโมงเร่งด่วนเวลา 06.00 – 09.00 น. และ
   16.30-19.30 น. ความถี่ไม่เกิน 5 นาทีต่อขบวน

 - ชั่วโมงปกติ ความถี่ไม่เกิน 10 นาทีต่อขบวน
จำนวนรถไฟฟ้า MRT วิ่งบริการสูงสุด 19 ขบวน


Airport Rail Link

โครงการ AIRPORT RAIL LINK ให้บริการเดินรถไฟฟ้าด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนทางยกระดับเลียบทางรถไฟสายตะวันออกระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร ผ่าน 8 สถานี ได้แก่ สถานีพญาไท สถานีราชปรารภ สถานีมักกะสันและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานกรุงเทพฯ สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง สถานีลาดกระบัง และสถานีสุวรรณภูมิ โดยผู้สารที่จะเดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสามารถเลือกใช้บริการได้ใน 2 ระบบ คือ

1. รถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (EXPRESS LINE) เป็นขบวนที่ให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (CITY AIR TERMINAL) หรือสถานีมักกะสัน ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิภายใน 15 นาที โดยไม่จอดรับ-ส่งผู้โดยสาร ณ สถานีรายทางใดๆ 

2. รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (CITY LINE) เป็นขบวนที่ให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างสถานีพญาไทถึงสถานีปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิภายใน 30 นาที โดยจอดรับ-ส่งผู้โดยสารตามสถานีรายทางทุกสถานี 
ลาว

ปัจจุบันลาวยังไม่มีรถไฟฟ้า แต่กำลังดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเช่นกันอย่างน้อยสองสาย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของภาพใหญ่การเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟครอบคลุมทั่วอาเซียน หรือ Southeast Asian railway network ที่หากดำเนินการแล้วเสร็จก็จะทำให้การสัญจรระบบรางของอาเซียนเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อเข้าด้วยกัน นั่นหมายถึงเส้นทางที่เชื่อมจากเวียดนามสู่ลาวและไทย ทั้งยังเส้นทางจากจีนสู่ลาวและไทย ที่คาดหวังให้ต่อสู่เมียนมาร์และมาเลเซียอีกด้วย

    ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมลาวกับเวียดนามซึ่งได้รับความสนับสนุนทางการเงินจากประเทศมาเลเซียนั้น อาจจะกล่าวได้ว่ามีความคืบหน้ามากกว่าเส้นทางจากจีนสู่ลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากฝ่ายจีน ทั้งนี้ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา (2555) มีรายงานข่าวว่าเส้นทางจากลาวสู่ชายแดนลาว-เวียดนามกำลังจะเริ่มการก่อสร้างแล้ว และเป็นที่คาดหมายว่าจะเสร็จสิ้นการก่อสร้างและเริ่มเปิดบริการได้ภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า  โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างลาวและเวียดนามจะมีระยะทาง 220 กิโลเมตร เริ่มต้นเส้นทางจากจังหวัดสะหวันนะเขตในลาวไปยังด่านเมืองลาวบาวในประเทศเวียดนาม มูลค่าโครงการ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 150 ล้านบาท 

เมียนมาร์
ปัจจุบันมียนมาร์ยังไม่มีรถไฟฟ้า
กัมพูชา
ปัจจุบันกัมพูชายังไม่มีรถไฟฟ้า
เวียดนาม
ปัจจุบันอยู่ระหว่างหารก่อสร้าง  รถไฟใต้ดินนครโฮจิมินห์  ระยะทางรวม 107 กิโลเมตร (66.5 ไมล์) รัฐบาลเวียดนามมีโครง การสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าอีก 5 สายในนครโฮจิมินห์ และ 8 สาย ในกรุงฮานอยนครหลวง เพื่อรองรับการจราจรที่ติดขัดอย่างหนัก และมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้น ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ญี่ปุ่นจะ ขยายการส่งออกเทคโนโลยีรถไฟ ฟ้าไปยังเวียดนาม ซึ่งมีหนทางใน การลงทุนที่สดใสอีกประเทศหนึ่ง ในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สิงคโปร์

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน หรือ เอ็มอาร์ที เป็นระบบขนส่งมวลชนทางรางขนาดใหญ่ที่ให้บริการครอบคลุมในนครรัฐสิงคโปร์ โดยส่วนแรกที่เปิดให้บริการ ระหว่างสถานี Yio Chu Kang และ Toa Payoh โดยเปิดให้บริการส่วนนี้ในปี ค.ศ. 1987 ทำให้มันเป็นระบบรถไฟฟ้าที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากมะนิลา หลังจากนั้น โครงข่ายก็เติบโตอย่างรวดเร็ว มีผู้โดยสารมาใช้บริการถึง 2.649 คนต่อปี
ระบบขนส่งมวลชนสิงคโปร์ มีจำนวนสถานีรถไฟฟ้า 104 สถานี รวมทั้งหมด4เส้นทาง  ครอบคลุมระยะทาง 148.9 กิโลเมตร (92.52 ไมล์)  ใช้รางมาตรฐานทำการก่อสร้างโดย Land Transport Authority

รถไฟฟ้า (Mass Rapid Transit – MRT) ของสิงคโปร์เป็นบริการรถรางที่ทันสมัย มีสถานีรถไฟฟ้า MRT ตั้งอยู่ทั่วเกาะ มีรถไฟฟ้าสายหลักอยู่ 4 สายได้แก่
1.      สายเหนือใต้ (North-South line) ที่วิ่งจาก Marina Bay ไปถึง Jurong East
2.      สายตะวันออกตะวันตก (East-West line) ที่วิ่งจาก Changi Airport/Pasir Ris ไปถึง Boon Lay
3.      สายเหนือ ตะวันออก (North-East line) ที่วิ่งจาก Harbour Front ไปถึง Punggol
4.      สายสีส้ม (Circle Line) ที่วิ่งจาก Bras Basah ไปถึง Harbour Front เป็นรถไฟฟ้าที่เพิ่งสร้างเสร็จล่าสุดเมื่อปี 2010 นี้ รถไฟฟ้าสายนี้จะวิ่งเชื่อมรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้ใกล้และสะดวกยิ่งขึ้น

มาเลเซีย
ระบบคมนาคมของกรุงกัวลาลัมเปอร์อยู่ในเกณฑ์ดี มีระบบขนส่งมวลชนประเภทรางอยู่ 5 ประเภท คือ
    - รถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter สาย A และ B    รวมระยะทาง 153 กิโลเมตร
    - รถไฟลอยฟ้า STAR สาย C และ D    รวมระยะทาง 27 กิโลเมตร
    - รถไฟลอยฟ้า-ใต้ดิน PUTRA สาย E   รวมระยะทาง 29 กิโลเมตร
    - รถไฟฟ้ารางเดียว KL Monorail สาย F   รวมระยะทาง 8 กิโลเมตร (อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 8 กิโลเมตร)
    - รถไฟฟ้าด่วนสนามบิน KLIA Express    รวมระยะทาง 57 กิโลเมตร


   
      รถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter ถือว่าเป็นระบบขนส่งมวลชนรุ่นแรกที่เกิดขึ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เดิมเป็นทางรถไฟธรรมดาของการรถไฟ KTM ต่อมาจึงได้ว่าจ้างชาวอินเดียมาก่อสร้างเส้นทางรถไฟให้เป็นระบบไฟฟ้าในภายหลัง ทางรถไฟมีด้วยกัน 2 สาย คือ

    สาย A จากเซนตุล (Sentun) - ธนาคารแห่งประเทศมาเลเซีย (Bank Negara) - กรุงกัวลาลัมเปอร์ (KL) - ศูนย์รถไฟกรุงกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) - ท่าเรือปากน้ำกลาง (Pelabuhan Klang) รวมระยะทาง 80 กิโลเมตร
    สาย B จากราวัง (Rawang) - ธนาคารแห่งประเทศมาเลย์เซีย (Bank Negara) - กรุงกัวลาลัมเปอร์ (KL) - ศูนย์รถไฟกรุงกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) - ท่าตาสิก์ใต้ (Bandar Tasik Selatan) - นิไล (Nilai) - เซเร็มบัน (Seremban) รวมระยะทาง 73 กิโลเมตร
    รถไฟชานเมืองนี้วิ่งบริการตั้งแต่เวลา 05.00 - 24.00น. เฉพาะเวลา 05.30 - 09.00น.และ 18.00 - 20.00น. รถจะออกทุกๆ 15 นาที นอกเหนือจากช่วงเวลาดังกล่าว รถจะออกทุกๆ 30 นาที   รับ-ส่งผู้โดยสารได้วันละประมาณ 70,000 คน/วัน
    ตัวรถไฟฟ้ามีขบวนละ 3 ตู้ ความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง   มีด้วยกัน 3 รุ่น คือ
   1) รุ่น 81 จาก Jenbacher ประเทศออสเตรีย  จำนวน 18 ขบวน
   2) รุ่น 82 จาก Marubeni ประเทศญี่ปุ่น ได้จ้างให้ Rotem ของประเทศเกาหลีใต้ผลิต จำนวน 22 ขบวน
   3) รุ่น 83 จาก Union Carriage and Wagon จากประเทศแอฟริกาใต้ จำนวน 22 ขบวน
      รถไฟลอยฟ้า STAR หรือชื่อเต็มว่า "Sistem Transit Aliran Ringan" เป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา(Light Rail System) ที่ใช้คนขับ เริ่มก่อสร้างในปี 1993 เพื่อรับการแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ (Commonwelath Game) ที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพในปี 1998  การก่อสร้างในช่วง 12 กิโลเมตรแรก จาก Sultan Ismail - Ampang เสร็จในปี 1996   ช่วงที่ 2 จาก Chan Sow Lin - Sri Petaling เสร็จทันในปี 1998  และยังได้ก่อสร้างออกไปอีก 3 กิโลเมตร จาก Sultan Ismail - Sentul Timur รวมระยะทางทั้งหมด 27 กิโลเมตร (ระดับพื้นดิน 17.9 กิโลเมตร  และยกระดับ 9.4 กิโลเมตร) มีสถานีทั้งหมด 25 สถานี (สถานีระดับพื้นดิน 17 สถานี และสถานียกระดับ 8 สถานี)   รถไฟฟ้าความเร็วเฉลี่ย 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง(ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง)   รถ 1 ขบวน มี 4-6 ตู้   บริการตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00น. ออกทุก 10 นาที ในช่วงปกติ และทุกๆ 3 นาทีในช่วงเร่งด่วน   รับผู้โดยสารได้ 27 ล้านคน/ปี
      รถไฟลอยฟ้า-ใต้ดิน PUTRA หรือชื่อเต็มว่า "Projek Usahasama Transit Ringan Automatik" เป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา(Light Rail System) ที่ไม่ใช้คนขับ เป็นรถไฟฟ้ายกระดับและใต้ดิน  เริ่มก่อสร้างในปี 1994   ช่วงแรกจาก Subang Depot - Pasar Seni เปิดบริการครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน ปี1999 รวมระยะทาง 14.1 กิโลเมตร   หลังจากนั้นจึงเปิดบริการถึง Terminal Putra ในวันที่ 1 เมษายน ปี2001 รวมระยะทางทั้งหมด 29 กิโลเมตร   มี 24 สถานี
    เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้ 4.4 กิโลเมตร เป็นทางใต้ดิน อยู่ระหว่างสถานี Dang Wangi - Ampang Park  ภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทุกสถานีมีลิฟต์สำหรับคนพิการ   ห้องน้ำ และประตูชานชาลา(Screen Doors)   เปิดบริการตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00น. ออกทุก 5นาที ในช่วงปกติ และทุกๆ 2.9-3.3 นาทีในช่วงเวลาเร่งด่วน  
    รถไฟฟ้าที่นำมาใช้บริการมีทั้งหมด 35 ขบวน   ขบวนละ 2 ตู้  ความเร็วเฉลี่ย 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง(ความเร็วสูงสุด 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง) รับผู้โดยสารได้ 35 ล้านคน/ปี
      รถไฟฟ้ารางเดียว KL Monorail เป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา(Light Rail System) มีลักษณะที่แปลกจากขนส่งมวลชนแบบอื่นตรงที่ว่าเป็นรถไฟที่วิ่งคร่อมบนรางคอนกรีตยกระดับ  วิ่งอยู่บนเกาะกลางถนนใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์   เริ่มก่อสร้างในปี 1997  เปิดใช้บริการในวันที่ 31 สิงหาคม ปี 2003 ในช่วง Titiwangsa - Tun Sambanthan ระยะทาง 8.6 กิโลเมตร มีสถานีที่เปิดบริการอยู่ 10 สถานี  รถออกทุก 2-5 นาที   ตัวรถไฟฟ้ามีขนาดเล็ก 1 ขบวน มี 4 ตู้  วิ่งค่อนข้างช้า จุผู้โดยสารได้น้อยเมื่อเทียบกับรถไฟฟ้า STAR และPUTRA
    โครงการรถไฟฟ้ารางเดียวนี้ ในอนาคตจะเปิดเส้นทางเชื่อมกับเมืองหลวงใหม่ของมาเลเซียที่ชื่อว่า "Putrajaya" และจะมีความยาวทั้งหมดรวม 18 กิโลเมตร มีสถานี 24 สถานี    แผนงานจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2004   และจะเป็นใต้ดินในช่วงที่เข้าเมือง Putrajaya อีกด้วย
      รถไฟฟ้าด่วนสนามบิน KLIA Express   เป็นรถไฟฟ้าด่วนสนามบินแบบฮ่องกง   วิ่งส่งผู้โดยสารระหว่าง สนามบินนานาชาติกรุงกัวลาลัมเปอร์(Kuala Lumpur International Airport-KLIA) ปลายทางสถานีรถไฟกลาง KL Sentral รวมระยะทาง 57 กิโลเมตร มีสถานีรวมทั้งหมด 5 สถานี เปิดใช้บริการครั้งแรกในวันที่ 14 เมษายน ปี 2002
    
ฟิลิปปินส์
      ในกรุงมะนิลามีระบบรถไฟฟ้ายกระดับรวม 2 สาย  และเป็นรถไฟฟ้าสายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1. สาย Light Rail Transit (LRT) มี 2 เส้นทาง ได้แก่ LRT 1 (สายสีเหลือง) ให้บริการในเส้นทางถนนแทฟต์ และรีวัลอะเวนิว ตั้งแต่สถานี Baclaran ไปจนสุดสายที่สถานี Monumento และ LRT 2 (สายสีม่วง)ให้บริการในทิศตะวันออก-ตะวันตก คือ จากสถานี Recto ถึงสถานีปลายทาง M.A.Roxas โดยสาย LRT 2 เชื่อมต่อกับสาย LRT 1 ที่สถานี Doroteo Jose และเชื่อมต่อกับสาย MRT 3 ที่สถานี Cubao

2. สาย Metropolitan Rail Transit (MRT) มี 1 เส้นทางคือ MRT 3 (สายสีฟ้า) ให้บริการในเส้นทางคู่ขนานกับถนน EDSA จากถนนนอร์ท อะเวนิว ในเกซอนซิตี้ ผ่านสถานีที่ 12 ในย่านธุรกิจมากาตีและออร์ตีกัส จนสุดสายและพบกับสาย LRT 1 ที่ถนนแทฟต์อะเวนิว

อินโดนีเซีย

กรุงจากาต้า เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย ใช้ระบบรถไฟฟ้าร่วมกับรถไฟธรรมดา เป็นระบบขนส่วมวลชนขนาดใหญ่เหมาะสำหรับเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลกอย่าง จากาต้าแต่ด้วยระบบที่ทับซ้อนทำให้การเดินรถมักมีปัญหา และที่สำคัญยังเป็นระบบที่ค่อนข้างล้าสมัยอีกด้วย


บรูไน
ปัจจุบันบรูไนยังไม่มีรถไฟฟ้า